Last updated: 25 ก.ค. 2565 | 216256 จำนวนผู้เข้าชม |
คำถามที่ว่า จะแพ้ไหมคะ เป็นคนแพ้ง่าย แพ้แอลกอฮอล์ แพ้น้ำหอม แพ้สารกันเสีย ใช้อะไรดีคะ ?
เป็นคำถามที่เราพบเจอทุกวัน วันนี้จะมาลงรายละเอียดแบบเต็มๆ เกี่ยวกับความผิดปกติจากการใช้เครื่องสำอางค่ะ
ความผิดปกติจากการใช้เครื่องสำอางมี 2 แบบ
1. ความผิดปกติที่เรียกว่า การแพ้ : เป็นความผิดปกติที่พบประมาณ 20% เกิดจากการตอบสนองของ ภูมิคุ้มกัน ต่อสารบางชนิดในเครื่องสำอาง
กลไกการแพ้ (โปรดจำ) >> เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นการแพ้ ที่เรียกว่า อัลเลอร์เจน (allergen) ในครั้งแรก ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ (antibody) มาจดจำ allergen ไว้ แค่จำไว้ก่อน ยังไม่ทำอะไร ยังไม่เกิดอาการแพ้ให้เห็น
เมื่อร่างกายได้รับ allergen ครั้งที่สอง เหมือนถูกข้าศึกบุกซ้ำ ทหารยามอย่าง antibody ก็จะเข้าไปต่อสู้ และในกระบวนการต่อสู้นี้เอง ร่างกายจะหลั่งสารเคมีออกมาหลายชนิด ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นมา อาการที่เกิดขึ้นจะต่างกันออกไปตามตำแหน่งที่เกิด
ลักษณะเฉพาะของการแพ้ครีม
1. การแพ้มีระบบการจดจำ (memory) หมายถึง ถ้าเคยแพ้มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อได้รับสารที่แพ้ซ้ำ อาการแพ้ก็จะเกิดขึ้นอีก
2. การแพ้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่ทุกคนจะแพ้สารเดียวกันหมด บางคนอาจจะแพ้สารหลายชนิด แต่บางคนก็ไม่เคยแพ้อะไรเลย คนที่แพ้ง่าย คือ คนที่มีการทำงานของภูมิคุ้มกันไวเกินไป ซึ่งก็น่าเห็นใจ ส่วนคนที่ไม่แพ้อะไรเลย ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ บางทีอาจจะไม่แสดงอาการในตอนนี้ แต่เมื่อแก่ตัว อายุมากขึ้น ถ้าระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาด ก็อาจมีอาการแพ้ขึ้นได้
3. การแพ้ไม่ใช่อาการติดต่อ เช่น ใช้ครีมกระปุกเดียวกับเพื่อน เพื่อนควักครีมทาแล้วแพ้ เราไปควักมาทาบ้าง ไม่ได้แปลว่าเราจะแพ้ตามเพื่อน
4. การแพ้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและถ้าตรวจเลือดจะพบสารบางอย่างที่ยืนยันได้ว่า มีการแพ้เกิดขึ้นจริง
ส่วนผสมใดในเครื่องสำอางที่มักพบเป็นสาเหตุของการแพ้ ?
ตอบ มักพบว่าสารกันเสียและน้ำหอม เป็นสารที่กระตุ้นให้แพ้เป็นลำดับต้นๆ ใช้คำว่า มักพบ หมายถึง ถ้าจับเอาคนที่แพ้ครีมมาทดสอบ มักจะพบว่าสารกันเสียและน้ำหอมในครีม เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาแพ้ แต่ก็มีบางส่วนที่อาจแพ้ส่วนผสมอื่นในครีม ส่วนคนที่ไม่แพ้ ก็คือไม่แพ้ ถ้าใช้แล้วโอเค ก็ใช้ต่อไปเถอะ เราคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ ไม่ต้องดึงตัวเองไปเข้ากลุ่มคนแพ้นะคะ
ย้ำอีกครั้ง -การแพ้เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันส่วนบุคคล+การแพ้มีระบบการจดจำ
2. ความผิดปกติที่เรียกว่า การระคายเคือง : เป็นความผิดปกติที่พบถึง 80% เกิดจากครีมมีสารก่อระคายเคือง เช่น กรดผลไม้ แอลกอฮอล์ ตัวทำละลายบางชนิด
อาการระคายเคือง
เป็นคนผิวแพ้ง่าย ความเข้าใจคลาดเคลื่อนของยุคปัจจุบัน ?
จากประสบการณ์รับปรึกษาปัญหาผิวจากลูกค้า พบว่าใน 100 คน จะมี 90 คน ที่บอกว่าตัวเองแพ้ง่าย เมื่อเราตั้งคำถามปลายเปิด ให้ลูกค้าเล่าอาการมา พบว่า เกือบทั้งหมดเป็นการระคายเคือง
ลูกค้าอาจจะเคยใช้ครีมที่มีสารระคายเคืองมาตลอดโดยไม่รู้ตัว คนขายไม่ได้แนะนำ ใช้ไปเรื่อยๆหน้าบาง จากนั้นก็ระคายเคืองทุกอย่าง แสบหน้า หน้าลอก หน้าแดง ทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดไปเลยว่า ตัวเองเป็นคนผิวแพ้ง่าย
ผิวคนเราไม่ได้แพ้ง่ายขนาดนั้น !
ผิวมีโครงสร้างสลับซับซ้อน มีด่านหลายด่านที่สามารถกรองของไม่ดีไม่ให้ซึมเข้าไปใต้ผิว เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นผิวคนปกติทั่วไป ไม่ได้แพ้กันง่ายๆ ลองคิดสิว่าถ้าผิวคนเราแพ้ง่ายขนาดนั้น ชีวิตจะอยู่ยังไง ลงสระว่ายน้ำก็คงแพ้คลอรีน อาบน้ำด้วยเจลอาบน้ำก็แพ้เจลอาบน้ำ ล้างจานก็แพ้ แปรงฟันก็แพ้ ทาลิปสติกก็แพ้ เขียนคิ้วก็แพ้ คงไม่มีใครเป็นแบบนี้ใช่มั้ยคะ ใช่ค่ะ ไม่มี เพราะผิวคนเราไม่ได้แพ้ง่ายขนาดนั้น ยกเว้นคนที่มีโรคผิวหนังติดตัวแต่กำเนิด เช่น ผิวลอกทั้งตัว ผิวแตกแบบเด็กดักแด้ ถือเป็นกลุ่มพิเศษ กลุ่มนี้จะแพ้ง่ายอยู่แล้ว เราไม่นับค่ะ
การที่ผิวคนปกติอย่างเราๆ จะแพ้ได้นั้น มี 2 เหตุผลหลักคือ
1. ภูมิคุ้มกันทำงานไวเกินไป ตามที่อธิบายในกลไกการแพ้ข้างบน กลุ่มนี้พบไม่มาก
เมื่อลูกค้าบอกว่าแพ้...
ถ้าลูกค้ามาบอกว่า แพ้แอลกอฮอล์ แพ้สารกันเสีย แพ้น้ำหอม อย่างแรกคือเราจะถามว่า เทสต์การแพ้จาก รพ.มาแล้วใช่มั้ยเอ่ย ถ้ามีผลเทสต์ก็คือตามนั้นเลยค่ะ
ถ้าไม่ได้เทสต์มา เกิดจากการคิดเอง สังเกตเอง ก็ต้องสอบถามไล่เรียงประวัติการใช้ครีมและอาการที่เกิดขึ้นกันสักหน่อย พร้อมอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
1. แพ้สารกันเสีย
สารกันเสียเป็นสารที่ต้องใส่ในเครื่องสำอาง ถ้าแพ้สารกันเสีย ก็คือใช้อะไรไม่ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู ครีมอาบน้ำ ยาสีฟัน เมคอัพแต่งหน้าทั้งหลายพวกนี้มีสารกันเสียหมด!
ดังนั้นคำว่า แพ้สารกันเสียแบบคิดเอง (โดยยังไม่เคยเทสต์จาก รพ.) มีความเป็นไปได้น้อย
2. แพ้น้ำหอม
อันนี้มีความเป็นไปได้สูงค่ะ แต่เครื่องสำอางสมัยนี้ก็มีเทรนด์ปราศจากน้ำหอมให้เลือกใช้แล้ว ถึงเราจะไม่ใช่คนแพ้น้ำหอม แต่เราก็ควรเลือกแบบไม่มีน้ำหอมมาใช้กัน เพราะตัวน้ำหอมเองมันไม่ได้ช่วยบำรุงอะไรเลย ใส่ไปให้แพงและเวียนหัว แต่บางคนก็ชอบนะ ว่ากันไม่ได้^^
3. แพ้แอลกอฮอล์
อธิบายไปด้านบน แอลกอฮอล์ มักทำให้ระคายเคือง ไม่ใช่แพ้ ใช้นานๆทำให้หน้าแห้ง พอหน้าแห้ง หน้าก็ระคายเคืองง่าย แอลกอฮอล์จึงเหมาะกับคนผิวมัน คนผิวแห้งถ้าจะใช้ ไม่ควรใช้บ่อย และบำรุงเยอะจัดเต็มค่ะ หมายถึงทาพวกมอยเจอร์ไรเซอร์ช่วยให้มากขึ้น
คำถามยอดฮิต ใช้แล้วจะแพ้ไหม?
อ้างจากกลไกการแพ้ที่อธิบายไปด้านบน จะเห็นว่าการแพ้เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของแต่ละคน จึงยากที่จะคาดเราได้ว่า จะแพ้หรือไม่ ทราบได้เมื่อลองใช้เท่านั้นค่ะ
หากใช้ไป 2-3 วันแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่น แดง คัน ให้หยุดใช้ทันที ถ้าเป็นไม่มาก สามารถหายเองได้ค่ะ
คำถามยอดฮิต แพ้แล้วคืนเงินไหมคะ?
การแพ้ ยากเกินจะคาดเดาล่วงหน้าได้ และเราเองก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยค่ะ ถ้าทราบล่วงหน้าว่าจะแพ้ ทางเราจะไม่ขายสินค้าให้แน่นอน กรณีใช้แล้วแพ้ ขออนุญาตรับคืนตามเงื่อนไขในภาพนี้
สำหรับลูกค้าใหม่ที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับคืน ขอให้ลูกค้าตัดสินใจให้ถี่ถ้วนก่อนสั่งสินค้าด้วยนะคะ คำแนะนำที่มีให้ คือ ถ้าเป็นคนผิวแพ้ง่าย ไม่ควรเปลียนครีมบ่อย ไม่ควรลองครีมใหม่ๆตามใจตัวเองนะจ๊ะ
คำถามยอดฮิต ครีมที่ใช้แล้วมีอาการผิดปกติ แสดงว่าครีมนั้นไม่ดี ?
ขอแตกเป็น 2 ประเด็น
1. การแพ้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพของครีม หมายถึง ไม่ควรเอามาเป็นตัวตัดสินว่าครีมดีหรือไม่ดี เพราะการแพ้เป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันในแต่ละคน ครีมนั้นอาจจะคุณภาพดีมาก ใช้สารสกัดที่ดีมาก แต่ก็อาจมีบางคนแพ้ได้ เพราะภูมิคุ้มกันทำงานไวเกินไป ในขณะที่คนอื่นอีกเป็นร้อยเป็นหมื่นคนใช้แล้วปลาบปลื้มมาก
2. การระคายเคือง ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นควรมีค่าการระคายเคืองต่ำ คนผิวปกติส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่มักมีปัญหาใช้แล้วระคายเคือง แม้แต่คนผิวปกติใช้แล้วก็ยังไม่รอด ถือว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีนัก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แย่เสมอไป เพราะบางครั้งในการระคายเคืองก็อาจได้ผลลัพธ์บางอย่างกลับมา เช่น ผลิตภัณฑ์ลดจุดด่างดำจากสิว ที่มักผสมกรดผลไม้ลงไปเพื่อผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกออก ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวลอกได้ แต่รอยสิวก็จางลง ผู้ใช้ต้องชั่งผลได้ผลเสียแล้วตัดสินใจให้ดีก่อนใช้
คำถามยอดฮิต มีวิธีทดสอบซ้ำหรือไม่คะ ว่าอาการผิดปกตินั้นเป็นการแพ้หรือระคายเคือง?
กรณีจะทดสอบซ้ำว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใช่การแพ้จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่การระคายเคือง มีวิธีทดสอบง่ายๆ คือ หลังจากอาการผิดปกติในรอบก่อนหายสนิทแล้ว ให้ลองทาผลิตภัณฑ์บริเวณเดิมอีกครั้ง ถ้ามีอาการเดิมเกิดขึ้นอีกหลังจากทาซ้ำเพียงครั้งเดียว แปลว่า คุณอาจแพ้สารบางอย่างในผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ
บทความแนะนำ
1.ผิวแพ้ง่ายใช้ครีมอะไรดี
2.คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผิวแพ้ง่าย
3.ผิวแพ้ง่าย กับ ระคายเคืองง่าย แค่คล้ายแต่ไม่เหมือน
27 ก.ค. 2560