Last updated: 25 ก.ค. 2565 | 159891 จำนวนผู้เข้าชม |
มอยส์เจอร์ไรเซอร์ มีความสำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นให้ผิว แม้ว่าผิวคนเราจะผลิตมอยส์เจอร์ไรเซอร์ได้เองแต่ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมากกมายที่มีส่วนผสมไม่เป็นมิตรกับผิว มีฤทธิ์ระคายเคือง ทำให้ผิวอ่อนแอและผลิตมอยส์เจอร์ไรเซอร์ได้น้อยลง การบำรุงผิวโดยคำนึงถึงส่วนผสมของมอยส์เจอร์ไรเซอร์จึงมีความสำคัญเช่นกัน บางคนหน้ามันแล้วกลัวว่าถ้าใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์จะทำให้ผิวยิ่งมัน เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะมอยส์เจอร์ไรเซอร์มีหลายประเภท สามารถเลือกใช้ให้ตรงกับสภาพผิวได้
อยากมีผิวสวย โปรดอ่านตรงนี้ก่อน
ผิวหนังชั้นนอกสุด (stratum corneum หรือชั้นขี้ไคล) เป็นชั้นที่เรามองเห็นด้วยสายตา ในสายตาคนรอบข้างหรือตอนเราส่งกระจก ผิวเราจะดูเหี่ยวแห้ง ขาดเลือดฝาด ไม่สดใส หรือว่าสวยงาม ขึ้นกับความสมบูรณ์ของชั้นนี้เป็นหลัก อยากให้ผิวดูสวยในสายตาคนมอง ก็ต้องมาเร่งทำให้ผิวชั้นขี้ไคลสมบูรณ์กันค่ะ
คำศัพท์ที่จะเจอในบทความนี้
โครงสร้างผิวหนังชั้นขี้ไคล (stratum corneum)
ชั้น stratum corneum มีการเรียงตัวของเซลล์ corneocyte อย่างเป็นระเบียบเป็นชั้นๆ ประมาณ 25-30 ชั้น โดยมี intercellular lipids เป็นตัวประสานล้อมรอบ ตำราฝรั่งได้เรียกการเรียงตัวแบบนี้ว่า Brick and Motar Model
ภาพการเรียงตัวของอิฐที่ก่อด้วยปูน Brick and Motar Model (Brickแปลว่าอิฐ Motar แปลว่าปูน)
ภาพจำลองการจัดเรียงตัวของเซลล์ corneocyte เป็นชั้นๆ โดยมี intercellular lipids เป็นตัวประสานซึ่งมีลักษณะคล้ายการเรียงตัวของอิฐที่ก่อด้วยปูน จึงถูกเรียกว่า Brick and Motar Model
อิฐแต่ละก้อน เทียบได้กับเซลล์ corneocyte
ภายในเซลล์ corneocyte มี NMFs ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำภายในเซลล์
NMFs ที่สำคัญๆ คือ Amino acids, PCA และน้ำตาล Glucose
NMFs เป็นสารที่เซลล์ชั้นหนังกำพร้าสามารถสร้างขึ้นได้เองในระหว่างที่มีการเจริญเติบโตเป็นเซลล์เต็มวัย (keratinocyte differentiation)
หากมีปัจจัยใดไปรบกวนการเจริญเติบโตของเซลล์ keratinocyte ก็จะทำให้ NMFs ถูกผลิตน้อยลง และส่งผลถึงความชุ่มชื้นของชั้น stratum corneum
ปูนประสาน เทียบได้กับ Intercellular lipids
เป็นตัวยึดเหนี่ยวเซลล์ ให้เรียงกันอย่างแน่นหนาและเป็นระเบียบ
Intercellular lipids ประกอบไปด้วยสารจำพวกไขมัน ได้แก่ ceramides 47 %, cholesterol 24 %, free fatty acids 11 % และ cholesterol esters 18 %
ผิวสวยเริ่มต้นความสมบูรณ์ของชั้น stratum corneum
อยากให้ผิวดูสวย ควรหันมาดูแลผิวชั้น stratum corneum ให้สมบูรณ์ โดยการรักษาระดับ NMFs และ intercellular lipids ให้สมบูรณ์มากที่สุด
การที่ระดับความชุ่มชื้นในผิวเพียงพอจะช่วยให้
ภาพเปรียบเทียบผิวหนังปกติและผิวหนังที่แห้ง
ผิวปกติ :
ผิวแห้ง :
ผิวแห้ง ผิวขาดความชุ่มชื้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
ผิวแห้งและผิวขาดความชุ่มชื้นคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน
คำว่าผิวแห้งเป็นคำใช้จำแนกสภาพผิวที่ติดตัวมา เช่น คนนี้ผิวมัน คนนี้ผิวผสม คนนี้ผิวแห้ง ซึ่งใช้ปริมาณน้ำมันที่ผลิตจากต่อมไขมันเป็นตัวจำแนก
ส่วน ผิวขาดความชุ่มชื้น (dehydrated skin) คือผิวที่มีน้ำใต้ผิวต่ำ วัดน้ำใต้ผิวได้ < 10% สาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายใน
1.ปัจจัยภายนอก
2. ปัจจัยภายใน
ลักษณะของผิวหนังที่ขาดความชุ่มชื้น (dehydrated skin)
- ผิวไม่เรียบ มีขุยหรือไม่มีขุยก็ได้ แต่ถ้ามีขุยคืออาการหนัก ทาแป้งไม่ติด (หน้ามันมาก ทาแป้งไม่ติด หน้าแห้งไปก็ทาแป้งไม่ติดเหมือนกัน)
- มองเห็น fine line ชัด (ริ้วเล็ก) โดยเฉพาะใต้ตา มุมปาก
- ผิวแดงง่าย สีผิวไม่สม่ำเสมอ
- คันและเกิดผิวหนังอักสบ
- ระคายเคืองง่าย แพ้ง่าย
การรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง จึงต้องทำทั้ง
เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์เป็น ช่วยอะไรบ้าง?
สารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น (มอยส์เจอร์ไรเซอร์) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สารช่วยเพิ่มน้ำในชั้นผิวหนัง (Humectant) สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการจับกับน้ำ (water binding) เช่น colloidal oatmeal, Amino acid, Hyaluronic Acid, Sodium PCA , glycerin, น้ำผึ้ง, กรดแลคติค (lactic acid), soduim lactate, propylene glycol, sorbitol, pyrolidone carboxylic acid (PCA) , gelatin, collagen , lastin, urea
ทั้ง Sodium-PCA และ hyaluronic acid (HA) จัดเป็นสารประเภท glycosaminoglycans ในธรรมชาติสารนี้พบสอดแทรกในชั้นหนังแท้ โดยสาร HA จะอุ้มน้ำได้ 1000 เท่า จึงทำให้ผิวหนังเด็กเต่งตึง แต่เมื่อวัยสูงขึ้นสาร HA ในชั้นหนังแท้จะลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ ผิวหนังจึงเหี่ยวย่น ในครีมหรือโลชันผิวแห้งจึงนิยมผสมสาร HA เพื่อช่วยอุ้มน้ำในผิวหนังชั้นขี้ไคล เนื่องจากสารในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มน้ำให้กับผิวได้โดยตรง ทำให้ผิวเรียบนุ่มชุ่มชื้นโดยไม่เพิ่มความมัน มอยส์เจอร์ไรเซอร์กลุ่ม Humectant จึงเหมาะกับผิวมัน ผิวแห้ง และผิวแพ้ง่าย
2. สารเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากผิว (occlusive moisturizers) ผลิตภัณฑ์ผิวแห้งจะผสมน้ำมันหลายชนิด เมื่อทาน้ำมันเคลือบผิวการระเหยของน้ำจากชั้นผิวหนังจะลดลง น้ำมันที่ใช้มีหลายกลุ่ม คือ
1. Hydrocarbon oils and waxes: petrolatum, mineral oil, paraffin, and squalene
2. Silicone oils
3. Vegetable and animal fats
4. Fatty acids: lanolin acid, stearic acid, linoleic acid, linolenic acid, arachidonic acid
5. Fatty alcohol: lanolin alcohol and cetyl alcohol
6. Polyhydric alcohols: polyethelene glycol
7. Wax esters: lanolin, beeswax, and stearyl stearate
8. Vegetable waxes: carnauba and candelilla
9. Phospholipids: lecithin
10. Sphingolipids: ceramides
11. Sterols: cholesterol and cholesrol sulfate
น้ำมันกลุ่ม hydrocarbon, น้ำมันพืช, น้ำมันจากสัตว์, ลาโนลิน, polyethelene glycol หรือไขผึ้ง ฯลฯ เมื่อนำน้ำมันเหล่านี้ผสมในครีมจะต้องใช้ในปริมาณพอเหมาะเพื่อไม่ให้เหนอะหนะ ไม่น่าใช้
ไขมันกลุ่ม phospholipid และ sphingolipid จะมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว น้ำมันกลุ่มนี้อาจช่วยซ่อมแซมผิวหนังได้ด้วย
สารซึ่งน่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือ สารซิลิโคน เช่น cyclomethicone และ dimethicone สารกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยหล่อลื่นผิวหนังได้ดี ผิวหนังจะเรียบนุ่มทันทีหลังใช้ โดยไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่ก่อให้เกิดสิว และไม่ทำให้เกิดการแพ้เพราะเคลือบอยู่ภายนอกเท่านั้น ในปัจจุบันจึงนิยมใช้ซิลิโคนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด
เนื่องจากสารเคลือบผิว Occlusives ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวด้วยการเคลือบปิดผิวชั้น Stratum Corneum เพื่อลดหรือชะลอการระเหยของน้ำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เราจึงควรทามอยซ์เจอไรเซอร์ทีมีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ประเภท occlusive ขณะที่ผิวยังมีเปียกหรือมีความชื้นอยู่เพื่อให้ occlusive moisturizers ทำหน้าที่กักความชุ่มชื้นเอาไว้ ในเครื่องสำอางแบรนด์ญี่ปุ่นเกือบทุกแบรนด์จะแนะนำให้ลงโลชั่นที่ผสม hyaluronic acid (บ้านเราเรียกโทนเนอร์) เพื่อเติมน้ำ ต่อด้วยการยลง emusion หรือ milk ที่มีส่วนผสมของ occlusive moisturizers เพื่่อปิดล๊อกความชุ่มชื้นให้แก่ผิวอีกครั้ง
occlusive moisturizers มีข้อดี คือ ทำให้ผิวหนังลื่นชุ่มชื้น และนิ่มนวล แต่ข้อเสีย คือ ไขมันบางตัวอาจอุดตันรูขุมขน ก่อให้เกิดสิว และถ้าผสมในปริมาณสูงจะเหนียวข้นไม่น่าใช้ ผู้ที่มีผิวมันจึงควรเลี่่ยงมอยส์เจอร์ไรเซอร์ประเภทนี้
สรุป
ผิวชั้น stratum corneum ต้องการการดูแลให้มีความชุ่มชื้นที่พอเหมาะ สำคัญอยู่ที่การเลือกประเภทของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับตัวเอง
มอยส์เจอร์ไรเซอร์บางชนิดอาจจะดูไม่เหมาะกับสภาพผิวเราในเชิงทฤษฎี แต่พอได้ลองใช้กลับอาจจะตีต่อผิวเราก็ได้ น้อยคนที่จะคิดว่าผิวตัวเองขาดความชุ่มชื้น เพราะผิวคนไทยส่วนใหญ่จะออกไปทางผิวผสม เมื่อมีน้ำมันออกมาเคลือบก็ตีความว่า ตัวเองผิวมัน ทั้งที่จริงแล้ว ใต้ผิวอาจขาดความชุ่มชื้นก็ได้ หากแยกไม่ออกว่าผิวขาดความชุ่มชื้นหรือไม่ แนะนำให้ตรวจสภาพผิวในเคาน์เตอร์เครื่องสำอางค่ะ
การดื่มน้ำอย่างเพียงพอก็ช่วยรักษาความชุ่มชื้นใต้ผิวได้หรือแม้แต่การทาครีมกันแดดก็ช่วยได้เหมือนกัน เพราะรังสี UV สามารถทะลุลงไปทำลายและรบกวนการสร้าง NMFs รวมถึง Intercellular lipids ได้
ฝากไว้ท้ายสุด : อยากให้ผิวดูสวย หันมาดูแลผิวชั้น stratum corneum ให้สมบูรณ์กันเถอะค่ะ อย่าเน้นใช้แต่พวกครีมหน้าขาว ครีมหน้าใส อย่างเดียว ลองดูส่วนผสมอื่นๆว่ามันตอบความต้องการด้านอื่่นๆให้ผิวด้วยมั๊ย เคยเห็นมั้ยคะ บางคนหน้าขาวมาก ขาวตัดกับคอ แต่หน้าไม่เนียน หน้าดูแห้ง ดูมีขุย ไม่มีเลือดฝาด รูขุมนก็กว้าง ผิวดูไม่เป็นธรรมชาติเสียเลย คุณสามีของแอดมินเรียกผิวแบบนี้ว่า ผิวกระเบื้อง ผิวดูขาวจริงแต่เป็นขาวด้านเหมือนกระเบื้อง มันไม่ healthy มันไม่มีออร่า มันไม่เปล่งประกาย มันไม่มีเลือดฝาด โอ๊ะ พูดแล้วยาว เอาเป็นว่าถ้าเราดูแลผิวถูกต้องโดยยึดตามโครงสร้างผิว เราจะรู้ความต้องการที่แท้จริงของผิว พอผิวเราสุขภาพดี ผิวก็จะดูดีเปล่งปลั่งสดใสอย่างเป็นธรรมชาติเองค่ะ